นักออกแบบและกราฟิกดีไซน์เนอร์ห้ามพลาด The Gang จะมาเผยวิธีเปลี่ยนฟอนต์ธรรมดาให้มีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น ช่วยดึงดูดความสนใจและสร้างความแตกต่างให้กับงานออกแบบ ด้วย 5 เทคนิคสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครเพียงแค่เลือกใช้ฟอนต์ให้น่าสนใจ
จัดวางน้ำหนักให้มีความสมดุล
การผสมผสานฟอนต์ในงานออกแบบจะช่วยสร้างความสมดุล และส่งเสริมความสวยงามให้มากยิ่งขึ้น เหมาะกับงานที่ต้องให้เนื้อหาเกิดความโดดเด่น โดยนำฟอนต์ที่มีความหนามากที่สุดและเข้ากับ Mood & Tone ในองค์ประกอบของภาพมาเป็นฟอนต์ส่วนหัวเรื่อง และใช้ตัวอักษรที่บางลงมาเป็นส่วนเนื้อหาโดยไม่ลืมว่าฟอนต์ในส่วนนี้ต้องเน้นให้อ่านง่ายเข้าไว้
ช่องว่างระหว่างฟอนต์
การจัดวางตำแหน่งช่องว่างระหว่างฟอนต์นิยมใช้กับงานสไตล์ Retro, Old School เนื่องจากพื้นฐานของการใช้ฟอนต์ในลักษณะนี้ได้รับแรงบรรดาลใจมากจากเครื่องพิมพ์ดีด ในรูปแบบ Monospace คือการที่ช่องว่าจะเท่ากันทุกช่อง ขนาดช่องว่างค่อนข้างใหญ่ ทำให้อ่านง่าย สบายตา
สีกับฟอนต์
อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญเพราะถือว่าเป็นของคู่กัน คือการเลือกสีให้เข้ากับฟอนต์ที่ใช้ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ใช้เพียงสีเดียว แต่ก็ต้องระมัดระวังในการใช้ชุดสี ทางทีดีควรจับคู่ชุดสีให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น #2a9d8f #e9c46a #f4a261 #e76f51 ก็จะช่วยให้ฟอนต์ของเราดูน่าสนใจมากกว่าเดิม
Flat Design
คือการเลือกใช้ฟอนต์ที่เรียบง่ายแต่ทำให้ดูทันสมัย เหมาะสำหรับงานออกแบบสไตล์โมเดิร์น รายละเอียดไม่เยอะ แต่เน้นความโดดเด่น นิยมใช้ในลักษณะของฟอนต์ แบบ Serif คือตัวอักษรไม่มีเชิง เรียบ ๆ ในการจัดวางฟอนต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฟอนต์สีขาว วางบน Background ที่มีสีสัน
Headline
พาดหัวรอง Sub headline ข้อความ Text body — ลองเลือกใช้ฟอนต์ให้มีความแตกต่าง ระหว่าง พาดหัว (Headline) พาดหัวรอง (Sub headline) ข้อความ (Text body) เพื่อหาจุดผสมผสานที่ลงตัว